อาการหลังคลอด 10 อย่างที่คุณแม่ควรรู้

หลังจากคุณแม่ตั้งครรภ์มา 9 เดือนจนมาถึงวันที่ได้คลอดลูกน้อยออกมา เชื่อว่าร่างกายคงเกิดการเปลี่ยนแปลงไปไม่น้อย และแน่นอนว่าหลังจากคลอดแล้ว ร่างกายก็จะต้องเปลี่ยนกลับไปให้เป็นเหมือนเดิมมากที่สุด แต่อาการหลังคลอดที่ตามมาของคุณแม่แต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะไม่เจอเลย หรือบางคนอาจจะเจอเยอะมาก ซึ่งระดับความรุนแรงก็ไม่เหมือนกันอีก นอกจากอาการเจ็บแผลทั่วไป วันนี้เวลบีอยากจะเอาข้อมูลสิ่งคุณแม่อาจจะเจอได้หรือที่เรียกว่า ภาวะหลังคลอด มาฝากให้คอยเฝ้าสังเกตุอาการกัน เพราะถ้าหากรู้สึกว่าเป็นอยู่และนานเกินไปจะได้ไปพบแพทย์ได้ทันค่ะ 1. มีน้ำคาวปลาออกมาจากช่องคลอด น้ำคาวปลาคือเลือดที่ออกมาหลังจากการคลอด เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกหลุดออกมาบางส่วน ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งผ่าคลอดและคลอดเอง แนะนำให้คุณแม่เตรียมผ้าอนามัยแบบกลางคืนหรือแบบหนาเอาไว้ติดตัวด้วย เพราะน้ำคาวปลาจะออกมาเหมือนมีประจำเดือน แต่ปริมาณจะมากกว่า ซึ่งผู้หญิงหลังคลอดจะมีน้ำคาวปลาประมาณ 4-6 สัปดาห์แล้วค่อยลดลงเรื่องๆ 2. ปวดท้องน้อย อาการปวดท้องน้อยอาจเกิดขึ้นกับคุณแม่บางคนหลังคลอด 2-3 วัน เหมือนอาการปวดประจำเดือน เกิดขึ้นเพราะมดลูกกำลังปรับคืนสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนมีลูก (มดลูกเข้าอู่) คนที่มีลูกคนที่ 2 ขึ้นไปจะยิ่งปวดกว่าเดิม เพราะมดลูกต้องปรับตัวมากขึ้น 3. เหงื่อออกมากกว่าปกติ เนื่องจากหลังคลอดร่างกายของคุณแม่ต้องปรับฮอโมนและระดับเลือดหลังคลอดทำให้เกิดความรู้สึกร้อนได้ง่าย เหงื่อไหลออกมาหลังคลอดมากเป็น 4. ท้องผูก อาการท้องผูกหลังคลอด เกิดขึ้นเพราะริดสีดวง แม้แต่คนที่ผ่าคลอดบุตรก็อาจจะมีอาการท้องผูกได้ เพราะได้แต่นอนเฉยๆ เพราะเจ็บแผล เมื่อคุณหมออนุญาต ให้เริ่มเดินช้าๆ ในบริเวณโรงพยาบาล นอกจากนั้นก็ดื่มน้ำเยอะหน่อย และทานอาหารที่มีกากใยก็ช่วยได้เยอะ 5.…

เลี้ยงลูกด้วยกล้วย แต่ไม่ใช่เรื่องกล้วยกล้วย

กล้วยกับเด็กเหมือนเป็นของคู่กัน ซึ่งถ้าย้อนเวลากลับไปเวลบีคิดว่าในวัยอย่างเราคงโตมากับการกินกล้วยบดตอนเด็กๆใช่ไหมคะ แต่เราคงจำไม่ได้หรอกว่าเรากินตอนอายุเท่าไหร่ มาคิดว่าจะเริ่มป้อนให้ลูกเราตอนไหนดีก็นึกไม่ออก แถมช่วงหลังก็มีประเด็นการป้อนกล้วยให้เด็กทารกมาให้กังวลอีก แต่เอ๊ะ เราก็โตมากับมันได้นี่หน่า โอ๊ย สารพัดความสับสน แต่เรื่องแบบนี้จริงๆแล้วคือเรื่องของระบบการทำงานของร่างกายทารก ที่จะมีพัฒนาการในแต่ละช่วง มีการเติบโตซึ่งคุณแม่ก็ต้องทำความเข้าใจว่าช่วงไหนที่มีพัฒนาการอย่างไร เพื่อจะได้ป้อนอาหารได้ถูกหลัก ปลอดภัยและเป็นประโยชน์กับลูกน้อยที่สุด แน่นอนค่ะ วันนี้เวลบีก็มีข้อมูลมาไขความสงสัยว่าจริงๆแล้วกล้วยมีประโยชน์กับทารกยังไง แล้วช่วงไหนที่สามารถป้อนได้ ทำไมต้องกล้วย? อันดับแรกต้องบอกก่อนว่ากล้วยที่เหมาะสำหรับการป้อนเด็กทารก คือ กล้วยน้ำว้า เพราะเป็นผลไม้ที่หาง่าย ปลูกได้ทุกบ้านเรือน คนไทยเลยนิยมกัน และกล้วยน้ำว้ามีเนื้อที่นิ่ม ทานได้ง่าย เด็กทารกที่ยังไม่มีฟันก็สามารถทานได้ ส่วนในเรื่องของประโยชน์ สารอาหาร กล้วยมีส่วนประกอบของโปรตีนที่ใกล้เคียงกับน้ำนมแม่ มีโปแตสเซียมสูงมาก ซึ่งช่วยเพิ่มพลังให้สมองตื่นตัว และกล้วยยังช่วยให้เด็กไม่มีอาการท้องผูก เพราะมีเส้นใยอาหารอยู่มาก ทำให้ขับถ่ายได้สะดวก กล้วยแบบไหนถึงจะดี? เวลบีแนะนำว่าควรเป็นกล้วยน้ำว้าที่สุกงอม ยิ่งสุกคาต้นได้ยิ่งดีเลยค่ะ เพราะกล้วยมีองค์ประกอบหลักคือ แป้ง (คาร์โบไฮเดรต) และน้ำตาล ซึ่งในกล้วยดิบจะพบแป้งเป็นส่วนใหญ่ โดยแป้งของกล้วยมีบางส่วนที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ ส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ยิ่งในเด็กที่ย่อยได้ยากกว่าผู้ใหญ่ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกายได้ จึงแนะนำให้เป็นกล้วยที่สุกงอมที่มีองค์ประกอบของน้ำตาลมากกว่าแป้ง ทำให้การย่อยเป็นเรื่องง่าย ส่วนที่บอกให้สุกคาต้นก็เพราะว่าสมัยนี้ส่วนใหญ่กล้วยที่เก็บมาขายจะยังเป็นกล้วยดิบ ซึ่งในระหว่างการบ่มอาจจะทำให้แป้งเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลได้ไม่เต็มที่เท่ากับแบบที่สุกคาต้นนั่นเองค่ะ เมื่อไหร่ที่สามารถเริ่มป้อนกล้วยได้? นักวิชาการทางการแพทย์หลายๆท่านแนะนำให้ป้อนกล้วยให้กับเด็กทารกตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป…

คุณแม่เตรียมรีบมือกับ 2 ขวบ อันโหดร้าย !! (Terrible Two)

คุณพ่อคุณแม่เคยลองสังเกตพฤติกรรมของเจ้าหนูบ้างมั้ยคะ ช่วงประมาณอายุ 2 ขวบ ที่เค้าจะพูดคุยด้วยยากเหลือเกิน พูดอะไรก็ไม่ค่อยฟัง เอาแต่ใจ ไม่ได้ดั่งใจก็กรี้ด ลงไปนอนดิ้นกับพื้น ทำเอาคุณพ่อคุณแม่ความดันขึ้นกันไปเป็นวันๆ แต่เวลบีอยากจะบอกว่า พฤติกรรมเหล่านี้ เราไม่ถือว่าเด็กๆ ผิดปกตินะคะ เพราะ จริงๆ พฤติกรรมเหล่านี้สะท้อนออกมาตามช่วงวัยของเค้า หรือที่เรียกกันว่าเป็นช่วง “Terrible Two” หรือ ภาษาไทยก็ “2 ขวบอันโหดร้าย” ซึ่งเวลบีจะมาเล่าให้ฟังว่า จริงๆ แล้ว Terrible Two เนี่ยคืออะไร แล้วคุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือกับเรื่องนี้ได้อย่างไรร ถ้าพร้อมแล้ว ก็ไปดูกันเลยยย Terrible Two คืออะไร ? เกิดจากอะไร ? ในช่วงวัย 2 ขวบปี ถือเป็นช่วงวัยสำคัญของเด็กๆ โดยจะมีพัฒนาการที่เราสามารถเห็นได้ชัดๆ เช่น เค้าสามารถพูดได้ 2 – 3 ประโยค รวมไปถึง สามารถเดินได้คล่องขึ้น, ปีนป่าย เป็นต้น นอกจากนี้…

คุณแม่ต้องรู้…โรคต้องระวังสำหรับเด็กแรกเกิด

หลังจากที่ลูกน้อยได้ลืมตาดูโลกถือเป็นช่วงเวลาอันล้ำค่าของคุณพ่อคุณแม่ที่จะได้ดูแลเจ้าหนูน้อยอย่างใกล้ชิด ซึ่งในช่วงแรกเกิดนี้ถือว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลและเฝ้าระวังเป็นพิเศษเพราะเป็นช่วงที่ร่างกายของลูกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จึงอาจก่อให้เกิดความผิดปกติต่างๆ รวมถึงการติดเชื้อหรือเกิดโรคในเด็กได้ วันนี้เวลบีจึงของรวบรวมโรคต้องระวังที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพื่อเตรียมตัวรับมือและป้องกันค่ะ 1. ภาวะติดเชื้อในเด็กแรกเกิด เนื่องจากเด็กแรกเกิดยังไม่มีภูมิต้านทานที่มากพอจึงก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย โดยในช่วงหลักคลอดนั้นการติดเชื้อส่วนใหญ่จะมาจากการติดเชื้อจากน้ำคร่ำของคุณแม่ที่แตกก่อนคลอด ซึ่งการที่น้ำคร่ำแตกก่อนคลอดนี้จะทำให้เชื้อโรคต่างๆ ได้ติดไปกับตัวทารก เกิดการอักเสบและเข้าสู่ร่างกายของลูกได้ โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีน้ำคร่ำแตกก่อนคลอดเป็นเวลานานก็จะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น ทั้งนี้อาการติดเชื้อที่พบได้บ่อยก็จะมีลักษณะ ตัวซีด กินนมน้อย ซึม หายใจผิดปกติหรือมีอาการชักเกร็ง ซึ่งหากลูกมีอาการเช่นนี้คุณพ่อคุณแม่ควรรีบนำมาพบแพทย์อย่างรวดเร็ว 2. โรคทางเดินหายใจ เนื่องจากวัยเด็กแรกเกิดนี้เป็นช่วงที่ลูกมีการปรับตัวเพื่อดำรงชีวิตด้วยตัวเองหลังจากอาศัยอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ ฉะนั้นแล้วการทำงานของปอดและทางเดินหายใจก็จะยังไม่ปกติ แต่ก็จะค่อยๆ ปรับตัว ซึ่งโดยทั่วไปเด็กที่คลอดปกติและตามกำหนดจะไม่ค่อยมีปัญหามากนัก แต่เด็กที่คลอดก่อนกำหนดนั้นควรมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ 3. ภาวะตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองเกิดจากการที่สารชนิดหนึ่งที่มีสีเหลือง จากการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง ซึ่งในช่วงแรกนั้นตับของทารกจะยังไม่ค่อยสมบูรณ์จึงไม่สามารถขจัดออกไปได้ทั้งหมด จึงให้ลูกน้อยมีอาการตัวเหลืองในช่วงหลังคลอด ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นอยู่ประมาณ 10 วันค่ะ แต่ถ้ามีอาการหลังจากนั้นก็ควรพาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและทำการส่องไฟเพื่อรักษาอาการต่อไป สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดผิดปกติของลูกน้อยแรกเกิดนั้น เกิดขึ้นได้ทั้งจากตัวคุณแม่และตัวลูกเอง ซึ่งหากช่วงตั้งครรภ์คุณแม่เป็นเบาหวานก็จะส่งผลต่อน้ำตาลในเลือดของลูกได้ อีกสาเหตุคือเกิดจากตัวลูกเอง โดยในเด็กที่มีน้ำหนักสูงกว่าหรือต่ำกว่าเกณฑ์ก็มีภาวะความผิดปกติของน้ำตาลในเลือดได้ ทั้งนี้คุณหมออาจมีการให้น้ำเกลือควบคู่ไปกับการให้นมแม่ค่ะ

โยเกิร์ตมีประโยชน์ต่อเด็กจริงหรือ ?

โยเกิร์ตถือเป็นเมนูที่มีประโยชน์มากๆ ไม่ใช่เฉพาะผู้ใหญ่ที่ทานแล้วดี นะคะ เด็กก็ทานแล้วดีเหมือนกัน แต่เอ๊ เราพูดกันเสมอว่า โยเกิร์ตมีประโยชน์ แต่รู้ไหมคะ ว่าโยเกิร์ตมีประโยชน์อย่างไร วันนี้เวลบีเลยอยากจะมาเล่าให้ฟังสักหน่อยว่า ไอที่ว่ามีประโยชน์เนี่ย ประโยชน์ที่ว่านั้น คืออะไรบ้างง ไปดูกันเลยยย คุณประโยชน์ดี ๆ ของโยเกิร์ต โยเกิร์ตย่อยง่ายกว่านม เหมาะอย่างยิ่งกับผู้ที่แพ้โปรตีนในนม หรือ ไม่สามารถย่อยนมได้ เนื่องจากในการทำโยเกิร์ต นมจะถูกหมักและเปลี่ยนเป็นโมเลกุลที่สามารถย่อยได้ง่ายขึ้น และในขบวนการดังกล่าวจะเกิดแลคเตส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ย่อยนม (น้ำตาลแลคโตส) นอกจากนี้ในขบวนการหมักดังกล่าวจะจะเกิดเอนไซม์ที่สามารถย่อยโปรตีนเคซีน ทำให้ง่ายต่อการดูดซึมและเกิดการแพ้น้อยลง จากการสังเกตเด็กที่ไม่สามารถย่อยนมได้ พบว่าสามารถกินโยเกิร์ตได้บ่อยครั้งโดยที่ไม่มีอาการท้องเสีย โยเกิร์ตช่วยรักษาสมดุลของลำไส้ สามารถทำให้ระบบลำไส้ และ ระบบการขับถ่าย ดีขึ้น ลดปัญหาอาการท้องผูก ของลูกน้อยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากในโยเกริ์ตมีแบคทีเรียที่มีชีวิตอยู่ ได้แก่ Lactobacillus และ Streptococcus ซึ่งแบคทีเรียทั้งสองชนิดนี้ เป็นแบคทีเรียที่พบในลำไส้มนุษย์อยู่แล้วนั่นเอง โยเกิร์ตช่วยให้เด็กเจริญเติบโตได้ดี เนื่องจากในโยเกิร์ตเป็นแหล่งของโปรตีนที่ย่อยง่ายและกรดแลคติคในโยเกิร์ตจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแร่ธาตุเข้าผ่านลำไส้ โยเกิร์ตช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีการศึกษา พบว่า การบริโภคโยเกิร์ตวันละ 2 ถ้วยเป็นประจำ ตลอดเวลา 3 เดือน…

จริงหรือไม่ วิตามินซี เสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้

ช่วงนี้ฝนฟ้าครึกคะนองทั่วพื้นที่แถมยังอยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว อากาศเปลี่ยนบ่อยขนาดนี้ ถ้าไม่ดูแลตัวเองให้ดี แน่นอนว่าโรคภัยไข้เจ็บมาเยือนแน่นอน โดยเฉพาะไข้หวัด ถ้าเป็นเป็นแค่คนเดียวยังพอว่า แต่ถ้าลูกน้อยเป็นหรือไข้พาลไปติดลูกน้อยนี่คงลำบากน่าดู ไม่ได้นอนกันทั้งคุณแม่ คุณพ่อ คุณลูกแน่นอน ถ้าพูดถึงการป้องกันไข้หวัด ส่วนใหญ่แล้วเราก็จะนึกถึงการทานวิตามิน C กันใช่ไหมคะ แต่ในทุกวันนี้ หลายๆสถาบันก็บอกว่าการทานวิตามินซีนั้น ไม่ได้ช่วยป้องกันไข้หวัดได้แต่อย่างใด การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนพักผ่อนให้เพียงพอต่างหากที่จะช่วยป้องกันได้ การรับประทานวิตามินซีช่วยแค่บรรเทาอาการของไข้หวัดเท่านั้นเอง แต่จริงๆแล้วเวลบีว่า ช่วยบรรเทาได้ก็ดีมากแล้วเวลาเราป่วยขึ้นมา เพราะเวลบีเอง เวลาทำงานหนักหรือจะไม่สบายก็จะทานวิตามินซีเนี่ยแหละเป็นตัวช่วยให้ดีขึ้น แถมได้เรื่องผิวเข้ามาเอี่ยวไปอีก แต่สำหรับลูกน้อยจะให้ทานวิตามินซีเป็นเม็ดแบบเราๆ ก็คงจะไม่ไหว ทางเลือกอื่นคงเหมาะกว่า ที่หาทานได้ง่ายและมีประโยชน์ที่สุด ก็คงจะเป็น ผลไม้ การทานผลไม้นั้นถือเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับทุกคน สำหรับเด็กๆน้องจากจะได้สารอาหารครบถ้วนแล้ว ยังเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันอีกด้วย สำหรับผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงก็จะช่วยบรรเทาอาการหวัดอย่างที่เวลบีได้บอกไปก่อนหน้านี้ วันนี้เวลบีเลยเอาข้อมูล 10 ผลไม้ที่อยู่ในกลุ่มที่มีวิตามินซีสูงและเป็นผลไม้หาง่ายๆใกล้ตัว ที่สามารถเลือกซื้อไปให้ลูกน้อยทานกันได้เป็นประจำมาฝากค่ะ ส้ม สตอเบอร์รี่ สับปะรด มะม่วง ลิ้นจี่ ฝรั่ง มะละกอ ลำไย แอปเปิ้ล เงาะ แต่ถ้าคุณแม่ท่านไหนไม่สะดวกซื้อผลไม้สดทุกวัน หรือบางครั้งต้องเดินทางบ่อยๆการจัดเก็บก็เป็นเรื่องยาก เวลบีมีของดีมาแนะนำนั่นก็คือ Wel-B ผลไม้อบแห้ง ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่…

พาลูกขึ้นเครื่องบิน ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

คุณพ่อคุณแม่คิดว่า การพาลูกเล็ก ขึ้นเครื่องเป็นเรื่องยากมั้ยคะ ?? เวลบีเชื่อว่า 80% ของคำตอบ คือ “ยาก” แน่นอน แต่ครั้งนี้ เวลบีจะทำให้เรื่องที่ใครหลายๆ คน คิดว่ายาก กลายเป็นเรื่องง่ายในพริบตา ค่ะ เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่ทำความเข้าใจเบื้องต้นเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สามารถพาลูกไปตระเวนรอบโลก ได้อย่างหมดปัญหาเลยจ้า เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการเดินทางโดยเครื่องบินของเด็กเล็ก โดยทั่วไปแล้ว สายการบินจะกำหนดให้เด็กที่มีอายุเกิน 14 วันเท่านั้น ที่สามารถเดินทางได้เท่านั้นค่ะ และสำหรับเด็กที่มีอายุเกินกว่า 14 วัน จะมีข้อปฏิบัติในการเดินทาง ดังนี้   อายุ ข้อปฏิบัติ รายละเอียดอื่น ๆ ที่ต้องรู้ 14 วัน –  2 ปีบริบูรณ์ ในวันเดินทางต้องโดยสารบนตักของผู้ใหญ่ ตั๋วเครื่องบิน : ขึ้นอยู่กับแต่ละสายการบินการสำรองที่นั่ง : – 2 ขวบปี – 12 ปีบริบูรณ์…

คุณแม่ต้องรู้..พัฒนาการลูกน้อยช่วงแรกเกิดถึง 1 ขวบ

ตั้งแต่วันที่ลูกน้อยได้ลืมตาดูโลกเป็นครั้งแรก คุณพ่อคุณแม่รู้สึกอย่างไรกันบ้างคะ เชื่อว่าทุกท่านคงดีใจและตื่นเต้นเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งคอยเฝ้าทะนุถนอมพร้อมดูแลและเฝ้าระวังเค้าเป็นอย่างดี ซึ่งการดูแลลูกน้อยในช่วงแรกเกิดถึง 1 ขวบนั้นถือเป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าระวังและคอยสังเกตพฤติกรรมรวมถึงพัฒนาการของลูกน้อยเป็นอย่างมาก โดยวันนี้เวลบีได้รวบรวมพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละช่วงเดือนมาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านค่ะ จะได้คอยดูแลและส่งเสริมให้เค้ามีพัฒนาการที่ดีสมวัยนะคะ ช่วงแรกเกิด – 1 เดือน : ช่วงนี้เป็นช่วงที่ลูกจะต้องตอบสนองต่อเสียงต่างๆ สามารถเคลื่อนไหวแขนขาได้ และสบตาคุณพ่อคุณแม่ได้ ช่วง 1 – 2 เดือน : จะเริ่มส่งเสียงในลำคอ มีอาการดีใจและตอบสนองต่อการอุ้ม สายตาสามารถมองตามวัตถุเคลื่อนไหวได้ และเมื่อจับนอนคว่ำลูกน้อยจะสามารถชันคอขึ้นได้   ช่วง 3 – 4 เดือน : จะส่งเสียงอ้อแอ้เหมือนจะพูดคุยด้วย มือสองข้างสามารถจับกันได้ และใช้แขนยันชูคอขึ้น 90 องศาได้เมื่อคุณพ่อคุณแม่จับลูกนอนคว่ำ ช่วง 5 – 6 เดือน : เริ่มจดจำใบหน้าได้ มีอาการตอบสนองที่คล่องแคล่วขึ้น สามารถจับของในมือเดียวได้ และเริ่มจับของเข้าปาก รวมทั้งเริ่มพลิกตัวได้ด้วยตัวเอง ช่วง 7 – 8 เดือน…

เทคนิคการอาบน้ำสำหรับเด็กแรกเกิด ฉบับคุณแม่มือใหม่

การอาบน้ำลูกน้อยสำหรับคุณแม่มือใหม่นั้นคงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น และน่ากังวลไปพร้อมๆกันนะคะ เพราะการอาบน้ำให้ลูกน้อยแรกเกิดเนี่ยต้องใช้ความละเอียดอ่อนและขั้นตอนต่างๆ ที่ต่างจากเด็กโตทั่วไปแล้ว ฉะนั้นวันนี้เวลบีมีเทคนิคการอาบน้ำสำหรับเด็กแรกเกิดในแบบฉบับคุณแม่มือใหม่ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นลองไปดูกันนะคะ การอาบน้ำสำหรับ 3 สัปดาห์แรก ในช่วงที่สายสะดือยังไม่หลุดคุณแม่ไม่จำเป็นต้องอาบน้ำให้เด็กทุกวัน อาจจะเพียงสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง อาบ (เช็ดตัว) บนพื้นราบ ไม่นำลูกน้อยลงอ่าง ใช้ฟองน้ำในการอาบน้ำ โดยใช้ฟองน้ำเช็ดตัวอย่างอ่อนโยน ใช้ผ้านุ่มๆ ชุบน้ำแล้วเช็ดบริเวณซอกคอและจุดอับต่างๆ ใช้สำลีเช็ดบริเวณหนังตาไม่ให้มีเศษขี้ตา พยายามใช้มือจับลูกน้อยตลอดเวลาเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการเคลื่อนไหวที่เป็นอันตราย การอาบน้ำในช่วงหลังจาก 3 สัปดาห์ขึ้นไป (หลังจากสายสะดือหลุด) ใช้อ่างพลาสติกในการอาบน้ำ และปูด้วยพรมยางเพื่อป้องการอ่างลื่น ใช้น้ำที่ไม่เย็นและไม่ร้อนจนเกินไป อุณหภูมิประมาณ 36 องศา ก่อนนำลูกลงในอ่างควรทำความสะอาบด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำบริเวณต่างๆ เหมือนช่วงก่อน 3 สัปดาห์ จับตัวเด็กให้มั่น แต่ไม่แน่นจนเกินไป ให้ลูกน้อยรู้สึกสบายโดยใช้แขนรองบริเวณช่วงศรีษะของลูก ใช้มือวักน้ำราดบนตัวลูกเบาๆ ไม่ให้ลูกรู้สึกหนาว ใช้สบู่เหลวสำหรับเด็กเพื่อความอ่อนโยน และระวังไม่ให้เข้าตา ไม่จำเป็นต้องสระผมทุกครั้งที่อาบน้ำ เมื่ออาบน้ำเสร็จให้ยกลูกขึ้นจากอ่างและใช้ผ้าเช็ดตัวเช็ดให้แห้งอย่างอ่อนโยน ข้อควรระวังเพิ่มเติมในการอาบน้ำเด็กแรกเกิด เลือกซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ที่เหมาะสมกับเด็ก ใช้โลชั่นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหลังการอาบน้ำ ระวังอย่างปล่อยมือจากลูกน้อยเด็ดขาด ไม่ปล่อยให้ลูกอยู่ใกล้อ่างน้ำเพียงลำพัง ควรอาบน้ำบนพื้นราบ ไม่อาบบนที่สูงเพื่อป้องกันการพลัดตก ทำทุกอย่างด้วยความอ่อนโยนและอาจร้องเพลงหรือสร้างเสียงเพื่อให้ลูกน้อยอารมณ์ดี

10 สิ่งสำคัญสำหรับการกินของเด็กแรกเกิด ที่คุณแม่ต้องเตรียมให้พร้อม !!

เคยได้ยินความเชื่อเกี่ยวกับ “ห้ามเตรียมของล่วงหน้าสำหรับเด็ก” กันมั้ยคะ ?? เวลบีเคยได้ยินมาบ้างนะคะ เค้าบอกกันว่า อาจเป็นลางไม่ดีก็ได้ ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ ไม่ได้ไม่ดีนะคะ เพราะโบราณเค้ามองว่า หากเกิดเรื่องไม่ดีขึ้น แต่คุณแม่ได้มีการเตรียมของไว้มากแล้ว ตอนที่จะต้องบริจาคหรือทิ้งของนั้น คุณแม่อาจเจ็บปวดมากนั่นเอง อย่างไรก็ตาม เวลบีมองว่า เหตุผลที่ต้องเตรียมของใช้สำหรับลูกน้อยไว้ก่อนมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะในช่วง 3 – 4 เดือนแรก คุณแม่จะวุ่นมาก ดังนั้น หากมีการเตรียมของเอาไว้ในเบื้องต้น คุณแม่ก็จะมีความพร้อมในการรับมือกับลูกมากขึ้นค่า เวลบีเลยหยิบเอาอุปกรณ์สำคัญ ๆ โดยเลือกเฉพาะสำหรับการกินมาฝากก่อนจ้า มีอะไรบ้าง ไปดูเลยย 1. เครื่องปั๊มนม เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างมาก ๆ สำหรับคุณแม่เลยนะคะ เพราะถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้คุณแม่ให้รีดนมออกมาให้ลูก ๆ ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย จ้า ยิ่งถ้าคุณแม่มีวินัยในการปั๊มนมล่ะก็ คุณแม่อาจจะให้น้ำนมเผื่อแผ่ไปถึงลูกเพื่อนได้เลยน้า (เทคนิคพิชิตการเป็นแม่วัว คลิกเลย) เวลบีแนะนำว่าให้คุณแม่ใช้เครื่องปั๊มนมแบบไฟฟ้า เพราะจะออมแรงในการปั๊มนมให้คุณแม่ และคุณแม่ก็จะได้พักผ่อนไปในตัวด้วย จ้า ปัจจุบันมีกลายยี่ห้อเลย ทั้ง Medela PIS, Medela Freestyle, Ameda…