ลูกน้อยแต่ละช่วงวัยมีความต้องการสารอาหารต่างกันและการให้อาหารที่ถูกกับวัยนั้นสำคัญต่อพัฒนาการและสุขภาพของลูกน้อยมาก บางทีคุณแม่อยากให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วน แต่ร่างกายของเด็กอาจยังไม่สามารถรับได้ เวลบีเลยเอาข้อมูลมาฝาก เพราะอยากให้แม่ๆทุกท่านคัดสรรสิ่งดีๆให้ลูกได้อย่างถูกต้อง
อาหารสำหรับช่วงวัยแรกเกิด – 6 เดือน
แน่นอนว่าสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเด็กแรกเกิด คือ นมแม่ เพราะมีสารอาหารที่เหมาะสมพร้อมทั้งภูมิต้านทานที่ช่วยให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรงไม่เจ็บป่วยบ่อย
อาหารสำหรับ 6 เดือนขึ้นไป
ควรให้อาหาร 1 มื้อ โดยใน 1 มื้ออาหาร ควรประกอบด้วย
ข้าวบดละเอียด 3 ช้อนกินข้าว
เพิ่มไข่แดงหรือเนื้อปลา 1 ช้อนกินข้าวหรือตับบด1 ช้อนกินข้าวเนื้อสัตว์ต่างๆ และตับเป็นแหล่งที่ดีของธาตุเหล็กและสังกะสี
เติมผักใบเขียวหรือผักสีเหลือง-ส้ม เช่น ตำลึง ฟักทอง ½ ช้อนกินข้าว
เติมน้ำมันพืช ½ ช้อนชาในอาหารที่ปรุงสุก เพื่อช่วยเพิ่มความเข้มข้นของพลังงานในอาหาร ไขมันจากน้ำมันพืชจะช่วยการดูดซึมวิตามินบางตัว เช่น วิตามินเอ วิตามินดีฯลฯไปใช้ประโยชน์ในร่างกาย
ให้ผลไม้เสริม เช่น กล้วยสุก มะละกอสุก1-2 ชิ้นโดยบดละเอียด
อาหารสำหรับช่วงวัย 7 เดือน
ควรให้อาหาร 1 มื้อ โดยใน 1 มื้ออาหาร ควรประกอบด้วย
ข้าวบดละเอียด 4 ช้อนกินข้าว
ไข่ต้มสุก ½ ฟอง สลับกับตับบด1 ช้อนกินข้าวหรือเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อปลาหรือเนื้อหมูหรือ เนื้อไก่ 1 ช้อนกินข้าว
เติมผักสุก เช่น ตำลึง ฟักทอง 1 ช้อนกินข้าว
เติมน้ำมันพืช ½ ช้อนชา ในอาหารที่ปรุงสุก เพื่อช่วยเพิ่มความเข้มข้นของพลังงานในอาหาร
ให้ผลไม้เสริม เช่น มะละกอสุกหรือมะม่วงสุก 2 ชิ้น อาหารที่เตรียมควรมีลักษณะ หยาบขึ้นเพื่อฝึกเด็กให้เคี้ยวอาหารดีขึ้น
อาหารสำหรับ 8 – 9 เดือน
ให้อาหาร 2 มื้อ โดยแต่ละมื้อ ควรประกอบด้วย
ข้าวสวยนิ่มๆ 4 ช้อนกินข้าว
ให้ไข่ต้มสุก ½ ฟองสลับกับตับบด 1 ช้อนกินข้าวหรือเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อปลาหรือเนื้อหมูหรือ เนื้อไก่1 ช้อนกินข้าว
เติมผักสุกเช่น ตำลึง ผักกาดขาวผักหวาน ฟักทองหรือแครอท 1 ช้อนกินข้าว
เติมน้ำมันพืช ½ ช้อนชาในอาหารที่ปรุงสุก เพื่อช่วยเพิ่มความเข้มข้น ของพลังงานในอาหาร
ให้ผลไม้เสริมใน1 มื้อ เช่น มะละกอ3 ชิ้นหรือกล้วยสุก1 ผล โดยบดหยาบๆ
อาหารสำหรับ 10 – 12 เดือน
ให้อาหาร 3 มื้อโดยแต่ละมื้อ ควรประกอบด้วย
ข้าวสวยนิ่มๆ 4 ช้อนกินข้าว
ให้ไข่ต้มสุก ½ ฟอง สลับกับตับบด 1 ช้อนกินข้าวหรือเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อปลาหรือเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ 1 ช้อนกินข้าว
เติมผักสุก 1½ ช้อนกินข้าว
เติมน้ำมันพืช ½ ช้อนชา ในอาหารที่ปรุงสุก เพื่อช่วยเพิ่มความเข้มข้นของพลังงานในอาหาร
ให้ผลไม้เนื้อนิ่ม เป็นอาหารว่าง เช่น มะม่วงหรือมะละกอสุก3- 4 ชิ้น หรือส้มเขียวหวาน 1 ผล
อาหารสำหรับ 13 – 24 เดือน
ให้อาหาร 3 มื้อเป็นอาหารหลัก โดยอาหารของเด็กจะคล้ายอาหารของผู้ใหญ่แต่เป็นอาหาร ที่ไม่รสจัดและไม่ควรเติมสารปรุงแต่งใดๆ อาหาร 1 มื้อควรประกอบด้วย
ข้าวสวยนิ่มๆ 1 ทัพพี
เพิ่มโปรตีนโดยเติมไข่ หรือเนื้อสัตว์ต่างๆ 1 ช้อนกินข้าว
เติมผักใบเขียวหรือผักสีส้ม เหลือง ½ ทัพพีเพื่อเสริมวิตามินและแร่ธาตุ ประกอบอาหารโดยวิธีผัด ทอด หรือ ทำเป็นแกงจืด
แนะนำให้เด็กดื่มนมรสจืดวันละ 2-3 แก้ว (400-600 มิลลิลิตร) เมื่ออายุได้ 1 ½ ถึง 2 ปีเด็กจะเริ่มใช้ช้อนตักอาหารกินได้ด้วยตนเอง จึงควรฝึก ให้เด็กกินอาหารที่มีประโยชน์ โดยสอนบ่อยๆเช่นประโยชน์ของผัก-ผลไม้ที่ให้วิตามิน และแร่ธาตุเนื้อปลาจะให้โปรตีนทำให้ร่างกายแข็งแรง เด็กก็จะเริ่มเรียนรู้และมีบริโภค นิสัยที่ดีต่อไป ควรสร้างบรรยากาศและจูงใจเด็กให้ได้ลองกินอาหารใหม่ๆ
อาหารสำหรับ 3 – 5 ปี
ใน 1 วัน เด็กควรได้รับอาหารหลัก 3 มื้อ โดย 1 มื้อ ควรประกอบด้วย
ข้าวกล้องหรือข้าวสวยนิ่มๆ 1-1.5 ทัพพี
เนื้อสัตว์ต่างๆ 1 ช้อนกินข้าวสลับกับไข่หรืออาหารทะเล
ผักใบเขียวต่างๆ มื้อละ 3/4-1 ทัพพี
ผลไม้ มื้อละ 1 ส่วน(ผลไม้1 ส่วน ให้พลังงาน60 กิโลแคลอรีได้แก่ ส้มขนาดกลาง 2 ผล หรือมะละกอสุก(คำ) 8 ชิ้น หรือกล้วยน้ำว้าขนาดกลาง 1 ผล ฯลฯ)
ควรให้เด็กดื่มนมรสจืดวันละ 2-3 แก้ว (400-600 มิลลิลิตร)
อาหารว่างระหว่างมื้ออาหาร เน้นว่าควรให้เป็นผลไม้แทนขนมกรุบกรอบและขนมทอดต่างๆ โดยทั่วไป สามารถจัดอาหารว่างให้ได้2 มื้อ ซึ่งรวมแล้วให้พลังงานไม่เกินร้อยละ 20 ของพลังงานจากอาหารทั้งหมดหรือ 200-250 กิโลแคลอรีต่อวัน ตัวอย่างเช่น มื้อว่างเช้าให้นมจืด 1 แก้ว และขนมกล้วย 1 ชิ้น หรือนมจืด 1 แก้ว และผลไม้ฯ
สำหรับลูกน้อยที่กำลังหัดหยิบจับอาหาร เวลบีขอแนะนำ Wel-B Yogurt Melt ที่ทั้งอร่อย มีประโยชน์ ไม่ติดคอ เหมาะกับเด็กๆและยังทำให้ลูกน้อยได้ฝึกพัฒนาการ การหยิบจับ ฝึกกล้ามเนื้อมืออีกด้วย อร่อยและมีประโยชน์ขนาดนี้ ถ้าสนใจ สามารถ Inbox เข้ามาถามข้อมูลกับเวลบีเพิ่มเติมกันได้เลยนะคะ