ว่ากันว่าช่วงตั้งครรภ์เนี่ยเป็นช่วงที่คุณแม่หลายคนจะมีเรื่องให้วิตกกังวลกันอยู่หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกินแล้ว การนอนก็ยังถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะไม่รู้ว่าจะนอนจะนั่งท่าไหนถึงจะส่งผลดีกับลูกในท้อง หรือจะทำให้คุณแม่รู้สึกไม่เจ็บปวด วันนี้เวลบีขอนำเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับท่านอนแสนสบายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มาฝากค่ะ
ท่านอนสำหรับคุณแม่ท้องอ่อน
คุณแม่ที่มีอายุครรภ์อยู่ในช่วงไม่เกิน 4 เดือน หรือ 16 สัปดาห์ ถือเป็นช่วงที่ท้องอ่อนๆ ท้องยังไม่โตมากนั่ง ส่วนมากก็จะเลือกนอนหรือลุกนั่งตามปกติ บางคนอาจจะยังไม่มีอาการเจ็บปวดใด แต่สำหรับบางคนอาจจะเริ่มรู้สึกตึงๆ ช่วงปีกมดลูกได้ ซึ่งในช่วงอายุครรภ์เท่านี้นั้นน้ำหนักของทารกและน้ำคร่ำรวมๆ กันก็น่าจะหนักขึ้นเป็นกิโลๆแล้ว หากคุณแม่นอนตะแคงทั้งคืนก็คงจะทำให้รู้สึกเสียดหรือตึงปีกมดลูกอีกฝั่งนึงได้ เช่น นอนตะแคงซ้ายจะเจ็บปีกมดลูกขวา ฉะนั้นแล้วในช่วงอายุครรภ์อ่อนๆ นี้ คุณแม่สามารถนอนหงายได้ โดยจะเป็นท่าที่ทำให้รู้สึกสบายที่สุดสำหรับช่วงนี้ค่ะ
ท่านอนสำหรับคุณแม่ท้องแก่
คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ในช่วง 16 สัปดาห์ขึ้นไป จะเป็นช่วงที่ท้องเริ่มโต ทารกเริ่มมีพัฒนาการ มีการขยายขนาดตัว ซึ่งรวมกับน้ำคร่ำแล้วก็จะมีน้ำหนักพอสมควร การนอนหงายในช่วงท้องแก่ๆ นี้ จะทำให้น้ำหนักของทารกไปกดทับเส้นเลือดใหญ่ที่อยู่บริเวณด้านหลังซึ่งจะขวางทางไหลเวียนโลหิต ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ได้น้อย อาจทำให้รู้สึกเพลียหรือหนักถึงจึ้นหน้ามืด เป็นลม จนเกิดอันตรายได้ โดยท่านอนแสนสบายของคุณแม่ในช่วงนี้คือการนอนตะแคงและยกขาให้สูง พยายามดื่มน้ำให้มากๆ ก็จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นค่ะ
ท่านอนที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
จะสังเกตว่าท่านอนที่เหมาะสมของคุณแม่ไม่ว่าจะเป็นช่วงท้องอ่อนๆ หรือท้องแก่ จะเป็นการนอนตะแคงหรือนอนหงาย โดยไม่ควรที่จะนอนคว่ำ ซึ่งการนอนคว่ำจะเป็นการกดทับน้ำหนักของทารกด้วยน้ำหนักตัวของคุณแม่จนอาจเกิดอันตรายต่อตัวทารก และทำให้เลือดไหลเวียนไม่เพียงพอคุณแม่ก็หายใจไม่สะดวกค่ะ ฉะนั้นแล้วช่วงตั้งครรภ์นี้คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการนอนคว่ำนะคะ
คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
- คุณแม่ควรหาหมอนมารองตามส่วนต่างๆ เพื่อช่วยกันแรงกระแทกเวลาพลิกตัวไปมาค่ะ
- คุณแม่ท้องแก่ควรหาหมอนมารองช่วงขาและเท้าเพื่อให้เท้ายกสูงขึ้นกว่าระดับหัวใจเล้กน้อย
- การเปลี่ยนท่านอนเองกลางดึกถือเป็นเรื่องปกติ เมื่อรู้สึกตื่นขึ้นมาหากพบว่าตัวเองนอนผิดท่าอยู่ก็ไม่ต้องตกใจ แค่เปลี่ยนกลับมานอนให้ถูกต้องค่ะ
- ระมัดระวังท่วงท่าการนอนต่างๆมากขึ้น เคลื่อนไหวตัวช้าลงเพื่อความปลอดภัยของทารกในท้อง
- ไม่วิตกกังวลจนเกินไป เพราะจำให้เครียดและส่งผลต่อสุขภาพของเด็กในท้องนะคะ